อ่านต่อ..
วันศุกร์ : ปางรำพึง
ลักษณะปางนี้จะอยู่ในอิริยาบถยืน มือทั้งสองข้างอยู่บนอก ในลักษณะของมือคือมือขวาทับซ้าย เป็นปางที่หลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ และคิดได้ว่าธรรมที่ตรัสรู้นั้นเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนเกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจ จึงคิดจะไม่สั่งสอนธรรมกับมนุษย์ แต่ท้าวสหัมบดีพรหมก็ขอให้พระองค์ทรงสั่งสอนชาวโลกอีกครั้ง โดยบอกกับพระพุทธเจ้าว่าโลกนี้ยังมีมนุษย์ที่กิลเลสเบาบางที่จะฟังธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นด้วยจึงกลับมาสั่งสอนธรรมให้กับมนุษย์ต่อไปจนเสด็จปรินิพพานในที่สุด ที่ปางนี้เป็นปางประจำวันศุกร์ น่าจะสืบเนื่องมาจากดาวศุกร์เป็นตัวแทนเกี่ยวกับโลกีย์ ที่จะต้องใช้ความรู้สึก อารมณ์และความนึกคิด ซึ่งเปรียบเสมือนพระพุทธเจ้าที่นึกถึงเรื่องธรรมะ
แบรนด์:
รหัสสินค้า: EEKH22/660580
ใบรับประกันสินค้า: มี
น้ำหนัก: 0.00 กรัม
รายละเอียดเพิ่มเติม
สินค้ารับซื้อคืน
ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกัน
ยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ)
ก็ได้ทรงรำพึงพิจารณาถึงธรรมที่ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้ง
ยากที่มนุษย์ปุถุชนจะรู้ตามได้ จึงเกิดความท้อพระทัยที่จะไม่สั่งสอนชาวโลก
ด้วยรำพึงว่าจะมีใครสักกี่คนที่ฟังธรรมะของพระองค์เข้าใจ ร้อนถึงท้าวสหัมบดีพรหม
ได้มากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมว่าในโลกนี้บุคคลที่มีกิเลสเบาบาง
พอฟังธรรมได้ยังมีอยู่ พระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาแล้วก็เห็นชอบด้วยอีกทั้งทรงรำพึง
ถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน ว่าตรัสรู้แล้วก็ย่อมแสดงธรรม
โปรดสัตว์โลกเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนทั้งปวง จึงได้น้อมพระทัยในอันที่จะแสดงธรรมต่อชาวโลก
ตามคำอาราธนานั้น และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศ
พระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป
พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลนั้นแล
เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า ปางรำพึง
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
สวดวันละ 21 จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน